ความมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสานว่าจะได้ผลอย่างไร
โดยกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างและจัดเตรียมสภาพแวดล้อมก่อนการทดลอง
1 สัปดาห์
2. ก่อนการทดลองผู้วิจัยทำกาทดสอบก่อนกับเด็กลุ่มตัวอย่าง
ด้วยแบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
โดยการประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน เป็นกลุ่มๆละ 5 คน ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที ช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
4. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์
ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์หลังการทดลอง
ด้วยแบบทดสอบเชิงปฏิบัติมักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
ระดับทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารพื้นบ้านอีสานก่อนการทำผลการทดลองในระดับปานกลาง
แต่หลังจากการได้รับการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทักษะด้านที่มีการพัฒนาสูงที่สุด คือ ด้านรู้ค่าจำนวน รองลงมาคือ
ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการเรียงลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น