พุยพุย

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา) 


          ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กระดับปฐมวัย จำเป็นที่ครูปฐมวัยพันธุ์ใหม่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะการใช้ “นิทาน” เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็ก ๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป

สรุปวิจัยคณิตศาสตร์

การศึกษาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
  การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสานว่าจะได้ผลอย่างไร โดยกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
  1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน

  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน

วิธีการดำเนินการวิจัย
  1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างและจัดเตรียมสภาพแวดล้อมก่อนการทดลอง 1 สัปดาห์
  2. ก่อนการทดลองผู้วิจัยทำกาทดสอบก่อนกับเด็กลุ่มตัวอย่าง ด้วยแบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน เป็นกลุ่มๆละ 5 คน ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที ช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
  4. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์หลังการทดลอง ด้วยแบบทดสอบเชิงปฏิบัติมักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

สรุปผลการวิจัย
        ระดับทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารพื้นบ้านอีสานก่อนการทำผลการทดลองในระดับปานกลาง แต่หลังจากการได้รับการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทักษะด้านที่มีการพัฒนาสูงที่สุด คือ ด้านรู้ค่าจำนวน รองลงมาคือ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการเรียงลำดับ





สรุปบทความคณิตศาสตร์

เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูก ๆ เรียนอะไรกัน

            การเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย มีมุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานเพื่อนำไปเรียนต่อในระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
      
     ได้มีการกำหนดคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุไว้ ดังนี้
       
       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 
       
       1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
       2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
       3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ
       
       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 
       
       1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
       2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
       3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด 

        คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 
      
       1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
       2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
       3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
       4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
       5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
      

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันพุธ ที่ 3 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้กลุ่มของดิฉันได้ช่วยกันทำปฏิทินจนเสร็จ แล้วจึงทำสื่อคณิตศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายกลุ่มละ 1 ชิ้น โดยกลุ่มของดิฉันเลือกที่จะทำ Mate Box หรือกล่องคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถใช้ในการนับ การคำนวน บวก ลบ คูณ และหารได้ภายในกล่องเดียว โดยมีชุดตัวเลขและสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ต่างๆให้ในกล่อง ซึ่งสื่อสามารถใช้ได้จริงและมีอายุการใช้งานยาวนาน









► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   
          ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำสื่อการสอนในอนาคต และสื่อที่ทำสามารถนำไปใช้ได้จริง




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

          ตั้งใจช่วยเพื่อนทำงานดี ผลงานเรียบร้อย

● ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆช่วยกันทำงานเป็นอย่างดีจนงานสำเร็จลุล่วง

● ประเมินอาจารย์

          อาจารย์ช่วยติชม และบอกส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สื่อสามารถนำไปใช้ได้จริง




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธ ที่ 26 เดือนเมษายน พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

               เรียนการสอนในครั้งนี้เป็นการสอนหน่วยที่แต่ละกลุ่มได้วางแผนไว้และได้เขียนแผนการสอนไว้ กลุ่มของดิฉันเป็นเรื่องกระเป๋า โดยอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาทำการสอนในหน่วยที่ได้คิดและวางแผนกันเอาไว้ แต่ละกลุ่มจะต้องส่งตัวแทนมาสอนในแผนการสอนที่เขียนไว้กลุ่มละ1วัน กลุ่มของดิฉันสอนเรื่องชนิดกระเป๋า ซึ่งเป็นหน่วยของวันจันทร์
แบ่งสอนตามวัน ดังนี้ 
กลุ่ม 1  เรื่อง กระเป๋า (แผนวันจันทร์)
กลุ่ม 2 เรื่อง บ้าน (แผนวันอังคาร)
กลุ่ม 3 เรื่อง กระต่าย (แผนวันพุธ)
กลุ่ม 4 เรื่อง เสื้อ  (แผนวันพฤหัสบดี)
กลุ่ม 5 เรื่อง ยานพาหนะ (แผนวันศุกร์)








► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำไปใช้ในการสอนในอนาคตได้





► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

          เนื่องจากคุณตาเสียชีวิตต้องเดินทางกลับบ้านด่วย ดิฉันจึงมาเรียนมาครึ่งคาบ

● ประเมินเพื่อน

          -

● ประเมินอาจารย์

           -





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 19 เดือนเมษายน พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอในการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนได้นำเสนออีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า จากนั้นก็ดูวิธีในการสอนของแต่ละคน โดยอาจารย์คอยให้คำแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้นึกศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น




► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำไปพัฒนาการสอนในอนาคตได้




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

          ไม่ได้มาเรียน

● ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนดี แต่เล่ารายละเอียดเรื่องที่เรียนให้ฟัง

● ประเมินอาจารย์

           -



บันทึกการเรียนณุ้ครั้งที่ 13



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 5 เดือนเมษายน พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเกมการศึกษาว่าเป็นอย่างไร แต่ละชิ้นแต่และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และเราสามารถนำไปใช้ในการสอนในอนาคตอย่างไร

เกมการศึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น เกมส์จับคู่ เกมภาพตัดต่อ ตัวต่อบล็อค เป็นต้น







► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำไปทำสื่อเกมการศึกษา และพัฒนาสื่อเพื่อเด็กปฐมวัยได้




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

          ไม่ค่อยตั้งใจเรียน แอบหลับในชั้นเรียน

● ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆ ตั้งใจดี ตั้งใจจดจำความรู้ที่อาจารย์สอน

● ประเมินอาจารย์

         อาจารย์สอนอย่างละเอียด อธิบายเข้าใจ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 29 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

          หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี  เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย
สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วน   ดังนี้
            - ประสบการณ์สำคัญ
            ประสบการสำคัญช่วยให้เด็กเกิด ทักษะ ที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้  โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ
             - สาระที่ควรเรียนรู้
            สาระที่ควรเรียนรู้เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้  
               
โดยสาระการเรียนรู้สามารถจัดประสบการณ์โดยให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่
- เคลื่อนไหวและจังหวะ
- ศิลปะ  สร้างสรรค์  แสดงความรู้สึก
- เสรี     เล่นบทบาทสมมติ
- เสริมประสบการณ์  สติปัญญา
- กลางแจ้ง   ร่างกาย
- เกมการศึกษา  สติปัญญา





► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ควรรู้ และสำคัญต่อครูผู้ที่ต้องสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในอนาคต



► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียนดี มีแอบหลับบ้าง

● ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆทุกคนตั้งใจดี ให้ความร่วมมือกับการเรียน

● ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนละเอียด ทำให้เข้าใจอย่างชัดเจน 





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพุธ ที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

          อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำปฏิทิน โดยทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แต่ละกลุ่มจึงนั่งทำงานที่ได้รับมอบหมายกับในห้อง









► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   
          ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทำสื่อในอนาคต




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

          ตั้งใจทำงาน ช่วยเหลือเพื่อนเป็นอย่างดี

● ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆ ตั้งใจทำงานกับกลุ่มของตนเอง 

● ประเมินอาจารย์

          -




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธ ที่ 15 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

                  อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาวาดรูปทรงเลขาคณิตที่ตนเองชอบ จากให้ออกไปหยิบไม้ และดินน้ำมันไปประกอบเป็นรูปที่ตนเองวาดไว้ นำรูปทรงของตนเองไปประกอบกับเพื่อนอีก 1 คน แล้วนำมาวางหน้าชั้นเรียนเพื่อทำการวิเคราะห์ นำมาวางเรียงกัน มีการนับ การแทนค่าด้วยตัวเลข แยกหมวดหมู่ดวยเกณฑ์สี่เหลี่ยม ทำการวิเคราะห์ว่าสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม มีด้านแต่ละด้านเป็นอย่างไร สำรวจความชอบของเด็กๆว่าชอบแบบใด



                  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำแผนผังความคิดของแต่ละกลุ่มที่ทำมาว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรตรงไหนบ้าง และอาจารย์ได้อธิบายแผนการจัดประสบการณ์ว่าควรเขียนอย่างไร











► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการจัดกิจกรรมให้เด็กๆ และได้ปรับปรุงผลงาน




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง
           ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนดี 

● ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมในการเรียนดี

● ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนเข้าใจ มีการชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

          อาจารย์ให้นักศึกษาคาดคะเนลูกอมในขวดโหล และสอนการจัดกลุ่มโดยใช้เกณฑ์เดียว และได้สอนเกี่ยวกับเรื่องจำนวนนับ การแทนค่าด้วยตัวเลข ระบบเลขฐานสิบ ความสัมพันธ์ของขนาดและปริมาณ การคาดคะเน มิติสัมพันธ์ และการอนุรักษ์จากการใช้ลูกอม หลังจากนั้นจึงให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้ทำแผนผังความคิดของแต่ละกลุ่ม โดยให้เลือกหัวข้อหน่วย ตัวฉัน ธรรมชาติรอบตัว สิ่งแวดล้อม บุคคลและสถานที่ กำหนดเนื้อหาดังนี้
- ลักษณะ 
- ชนิด
- ประโยชน์
- โทษหรือข้อพึงระวัง
- วิธีดูแลรักษา
กลุ่มดิฉันเลือกหัวข้อเรื่องกระเป๋า โดยอาจารย์จะให้มาสอนเพื่อนๆในสัปดาห์หน้า






► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ในอนาคต เรียนรู้การสอน วิธีต่างๆ และการแบ่งเกณฑ์ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยในระดับปฐมวัย




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

          ตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือในการเรียน ตอบคำถามได้ดี

● ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนดี มีส่วนร่วมในการเรียน

● ประเมินอาจารย์

            อาจารย์ตั้งใจสอนและสอนอย่างละเอียดมาก มีกิจกรรมให้ทำ ไม่น่าเบื่อ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (สื่อการสอนคณิตศาสตร์)



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

เติมตัวเลขที่หายไป เกมส์คณิตคิดสนุก



อุปกรณ์

  • กระดาษ
  • กรรไกร
  • สีเมจิก
  • ดินน้ำมัน

วิธีทำ

  1. ตัดกระดาษเป็นแผ่นๆ หลายๆแผ่น วาดรูปงูลงไปบนกระดาษ
  2. หรือ วาดรูปงูในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วปริ้นออกมา
  3. เขียนโจทย์บวกเลข ลงไปด้านล่างตัวงู


วิธีเล่น

  1. แจกกระดาษให้เด็ก พร้อมดินน้ำมันหรือดินสอสี
  2. ให้เด็กเติมคำตอบ ในช่องว่าง พร้อมเติมจุดที่เหลือ บนตัวงู (จุด เติมจากดินน้ำมัน หรือดินสอสี)



- พัฒนาด้านสติปัญญา : ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านจำนวน ทักษะด้านการบวกเลข และความคิดสร้างสรรค์
- พัฒนาด้านร่างกาย : ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการวาดรูประบายสี และปั้นดินน้ำมัน
- พัฒนาด้านอารมณ์ : ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลินกับการเรียนคณิตศาสตร์
- พัฒนาด้านสังคม : สามารถเล่นร่วมกับเพื่อนๆ และให้เด็กช่วยกันคิดได้





ที่มา : http://p-ject.com/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA/