พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับความรู้ 4 ประเภท

- ความรู้ทางกายภาพ
- ความรู้ทางสังคม
- ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์
- ความรู้เชิงสัญลักษณ์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

          สาระที่ 1 ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
          สาระที่ 2 ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว ชั่งน้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา







► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปใช้กับการสอนคณิตศาสตร์ในอนาคตได้ และทำให้สอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และรู้ถึงขอบข่ายเนื้อหา




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง
           ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนดี มีเผลอหลับและคุยกับเพื่อนบ้าง

● ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี มีส่วนร่วมในการเรียน

● ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนเข้าใจดีแม้เนื้อหาจะเยอะ อธิบายรายละเอียดได้เข้าใจ







วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 25 เดือนมกราคม พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

- ความหมายของคณิตศาสตร์

          คณิต หมายถึงวิชาว่าด้วยการคำนวนทักษะทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนแล้วค่อยๆ พัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

- ความสำคัญของคณิตศาสตร์


          คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุมีผล เป็นระบบ มีระเบียบ มีแบบแผน สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

- ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1. การนับ (Counting)
2. ตัวเลข (Number)
3. การจับคู่ (Matching)

4. การจัดประเภท (Classification)

5. การเปรียบเทียบ (Comparing) 
6. การจัดลำดับ (Ordering) 
7. รูปทรงหรือเนื้อที่ (Shape and Space) 

8. การวัด (Measurement) 

9. เซต (Set) 

10. เศษส่วน (Fraction) 
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)

- แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

          1. ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหาวิธีสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอน และประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง
          2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก




► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ควรรู้ และสำคัญต่อครูผู้ที่ต้องสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในอนาคต



► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียนดี มีส่วนร่วมต่อการตอบคำถามพอใช้

● ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆทุกคนตั้งใจดี ให้ความร่วมมือกับการเรียน ตอบคำถามได้ดีเป็นส่วนใหญ่


● ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนละเอียด ทำให้เข้าใจอย่างชัดเจน 


       



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธ ที่ 18 เดือนมกราคม พ.ศ. 2560

► ความรู้ที่ได้รับ

สมอง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลโดยรับจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือรับรู้ จากนั้นนำไปประมวล

คุณภาพของพัฒนาการแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน (ความแตกต่างระหว่างบุคคล) ขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้ วุฒิภาวะ การอบรมเบี้ยงดู สิ่งแวดล้อม

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพํฒนาการทางสติปัญญา มีดังนี้

1. เพียเจต์


การซึมซับ → ปรับความรู้เดิม → ได้ความรู้ใหม่

เพียเจต์แบ่งการเรียนรู้ของเด็กออกเป็น 2 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นประสาทสัมผัส ( Sensorimoter ) แรกเกิด - 2 ปี
2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperetioal Stage) 2 - 7 ปี

2. บรูเนอร์


1. เรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
2. เรียนรู้จากการคิด (Iconic Stage) สร้างมโนภาพ
3. เรียนรู้จากสัญลักษณ์ และนามธรรม (Symbelic Stage) 

3. ไวก็อตสกี้



- เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากการร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกัน (Peer) เป็นกระบวนการสนันสนุน และเพิ่มพูนพัฒนาการ ทำให้พัฒนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากข้างใน

- เชื่อว่าการมีปฏิสัมพันธ์จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากข้างใน

- ให้ความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ที่มีสถานะสูงกว่าตัวเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้ใหม่ ให้เด็กลองทำเองแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยด้วย เด็กจึงจะเกิดการพัฒนาการ

- ประสบการณ์ที่เด็กได้รับมีอิทธิพลต่อตัวเด็ก

- ไวก๊อตสกี่เปรียบผู้ใหญ่เหมือน "นั่งร้าน" (Scafold) คือ ผู้คำจุนอาคารระหว่างสร้าง ที่ค่อยช่วยเหลือเด็ก เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง จึงจะทำให้เด็กสามารถทำงานนั้น ๆ สำเร็จ

- ความสำเร็จเกิดจากการบูรณาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน






► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     
          ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนอนาคต โดยการทำความเข้าใจทฤษฎี และนำข้อดีต่างๆไปปรับใช้ในการสอนและทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็ก




► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

          ขาดเรียนเนื่องจากมีไข้

● ประเมินเพื่อน

          บทความนี้อ้างอิงจากบทความของนางสาวจุฑามาศ ทนุวรรณ์

● ประเมินอาจารย์

          -